ชื่อเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
(CIRCTGT MODEL)
ผู้วิจัย อุมาพร ชัยสงค์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ และสภาพที่ต้องการในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CIRCTGT MODEL) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CIRCTGT MODEL) 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CIRCTGT MODEL) โดยพิจารณาในประเด็น 3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CIRCTGT MODEL) 3.2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CIRCTGT MODEL) 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CIRCTGT MODEL) กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนชุมชนเทศบาล ๓ (พินิจพิทยานุสรณ์) เทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ (CIRCTGT MODEL) จำนวน 6 แผนๆละ 2 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เป็นปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 17 ข้อวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที (t-test) ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบไปด้วยองค์ประกอบของรูปแบบ จำนวน 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรม สาระความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 5) ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และปัจจัยสนับสนุน และมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นนำเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น 3) ขั้นปฏิบัติกิจกรรมย่อย 4) ขั้นการแข่งขันเป็นทีม 5) ขั้นการทดสอบ 6) ขั้นตระหนักถึงความสำเร็จของกลุ่ม และ7)ขั้นสรุปบทเรียน
2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CIRCTGT MODEL) มีคะแนนความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมและเป็นรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.24)
4. ผลการนำเสนอการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CIRCTGT MODEL) พบว่าความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CIRCTGT MODEL)โดยภาพรวมแล้วผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่าการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (CIRCTGT MODEL) มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด กล่าวคือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.16
|